วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การแข่งขันทางด้านการบิน นาทีนี้ห้ามกระพริบตา



ผมเดินทางมาถ่ายสารคดีที่ประเทศในแถบแอฟริกากลางและตะวันออก ก็มี เคนย่า ซิมบับเว่ แซมเบีย การเดินทางครั้งนี้ได้สายการบิน เคนย่า แอร์เวย์ สนับสนุนเรื่องการเดินทางทั้งหมด ก็สะดวกสะบายและประหยัดงบประมาณการผลิตสารคดีไปจำนวนมากเลยทีเดียว และยังใจดีให้นั่งชั้น บิซิเนส คลาส หรูหราอีกระดับ ปกติแล้วช่างภาพสารคดีอย่างผมไม่มีโอกาสได้นั่ง ชั้นบิเนสคลาสหรือเฟริสคลาสหรอกครับ เพราะราคาแพงกว่าชั้นประหยัดมากมาย แต่เมื่อราคาแพงกว่า ความสะดวกสะบายก็เพิ่มมากขึ้นหลายอย่างทั้งที่นั่ง ที่นอน รวมทั้งที่กิน เครื่องบินของเคนย่า แอร์เวย์ที่เรานั่งจาก กรุงเทพมาไนโรบี เมืองหลวงของเคนยาคือ เครื่อง 787 ดรีมไลเนอร์ รุ่นใหม่ล่าสุดของ โบอิ้ง นั่งสบายมากครับ ที่นั่งสามารถปรับเป็นที่นอนแบบนอนยาวราบไปได้เลย มีจอทีวี แอลอีดี ขนาดใหญ่ นั่งหรือนอนดูได้แบบส่วนตัว และตัวผมยังโชคดีที่กับตันใจดี ให้ไปนั่งถ่ายรูปตอนเครื่องบินขึ้นลงในห้องนักบิน ต้องบอกว่าทันสมัยไฮเทคมากๆ ตัวผมดูไม่ออกหรอกว่ามันคือปุ่มหรือจออะไรบ้าง เพราะเยอะไปหมด ไปนั่งครั้งแรกตอนเครื่องจะขึ้นจากกรุงเทพ เจอเซฟตี้เบลท์ แบบนักบินเค้าไป งงเป็นไก่ตาแตกเพราะใช้ไม่เป็น ต้องมีการสอนการใช้ให้ก่อน นั่งปุ๊บ นักบินผู้ช่วยหันมาอธิบายการใช้หน้ากากออกซิเจนทันที ตอนเครื่องขึ้นจากกรุงเทพเป็นตอนกลางคืน เลยไม่เห็นอะไรเท่าไร แต่ตอนเครื่องลงที่ไนโรบี เคนย่านี่ เช้าพอดี เห็นทุกอย่างชัดเจน ตื่นเต้นเป็นประสบการณ์ชีวิตไปอีกแบบ เครื่องใช้เวลาบินทั้งหมดประมาณ เก้าชั่วโมง ไม่หยุดพักเวลาที่ เคนย่าช้ากว่าไทยห้าชั่วโมง ครับ ดูจากเส้นทางการบิน ออกจาก กรุงเทพก็หันหัวตะวันตกผ่านพม่าข้ามมหาสมุทรอินเดียเฉียดผ่านอินเดียตรงไปเคนย่าเลย ประเทศเคนย่าตั้งอยู่ตรงเส้นศุนย์สูตรพอดีเหมือนๆไทย แต่อากาศที่ไรโรบิไม่ร้อนเลยครับ มาถึงตอนหกโมงเช้ากว่า อุณหภูมิ สิบกว่าองศาเท่านั้น เย็นได้ใจเลยทีเดียวเหตุก็เพราะว่า ไนโรบี เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทีราบสูงเคนย่า ซึ่งสูงประมาณพันห้าร้อยเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยท้งปีก็ประมาณ ยี่สิบองศาเท่านั้น ได้ความที่มีโอกาสได้คุยกับกับตันและทางสายการบินเคนย่าแอร์เวย์ก็เลยได้ความรู้เกี่ยวกับเจ้าเครื่อง 787 ดรีมไลเนอร์หลายอย่างที่น่าสนใจ ทำให้เห็นเรื่องแนวทางการพัฒนาเครื่องบินของสองค่ายยักษ์ใหญ่ของโลกสองเจ้าก็คือ ค่ายโบอิ้ง ของอเมริกาและค่ายแอร์บัสของฝั่งยุโรป ซึ่งเครื่องบินพานิชย์ของสายการบินทั่งโลกส่วนมากก็ใช้สองเจ้านี่แหละครับ เมื่อการแข่งขันทางการบินดุเดือดเลือดพล่านขึ้นเรื่อยๆเพราะราคาน้ำมันขึ้นสูงเรื่อยๆ ไม่หยุดจนกล่าวได้ว่า น้ำมันเป็นปัจจัยทุนชี้ขาดกำไรขาดทุนของบรรดาสายการบินทั้งหลาย บริหารไม่ดี เจ๊งไปกันหลายเจ้า เมื่อน้ำมันกลายเป็นปัจจับสำคัญของสายการบิน แนวทางการพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ก็ต่างเน้นในเรื่องความคุ้มค่า ทางค่ายแอร์บัส พัฒนาเครื่องบินรุ่น a380 ซี่งเป็นเครื่องบินพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จุผู้โดยการได้กว่า 500 คน หรือว่ากันว่าถ้ารื้อชั้นหนึ่งและชั้นบิสิเนสออกทำเป็นชั้นประหยัดให้หมดจะจุคนได้ถึง 800 คนเลยทีเดียว การที่ค่ายแอร์บัส พัฒนาเครื่องบินให้ลำใหญ่ๆเพราะเชื่อว่า ความคุ้มค่าจะมากขึ้นจากการที่เครื่องสามารถจุผู้โดยสารเยอะๆในเทียวเดียว คิดง่ายๆคือหารจำนวนหัวออกมาต่อค่าใช้จ่ายจะน้อยลง แต่ฝั่งโบอิ้งจากอเมริกาไม่คิดอย่างั้นครับ โบอิ้งคิดว่าทำเครื่องบินขนาดธรรมดาๆนี่แหละ แต่คิดเทคโนโลยี่ไฮเทคประหยัดออกมา ทั้งลดน้ำหนักวัสดุที่ผลิตลง 20 % ออกแบบปีกเพรียวสวย จนเครื่องรุ่น 787 ดรีมไลเนอร์ได้ชื่อว่า เป็นเครื่องบินพานิชย์ที่มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมากที่สุดรุ่นหนึ่งเลยทีเดียวและจากการได้ม่โอกาสนั่งในครั้งนี้ ก็ต้องยอมรับเลยครับว่านั่งสบายกว่ารุ่นอื่นๆที่เคยนั่งเลยทีเดียว อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลยเรื่องปรับความกดอากาศ 787 ดรีมไลเนอร์ทำได้ดีมาก ไม่มีอากาศปวดหู หูอื้อเลยตลอดเส้นทาง ท่านใดที่มีปัญหาเรื่องหูอื้อเวลาเครื่องบินขึ้นลงนี่จะรู้ซึ้งเรื่องนี้ดีเลยครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องนี้ หูอื้อทีกว่าจะหายนี่เป็นอาทิตย์ กลับมาที่เรื่องการแข่งขันของสายการบินทั้งสองค่ายอีกครั้ง แอร์บัสเองประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขายของ A380 ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ สายการบินไทยของเราก็สั่งมาใช้กับเค้าเหมือนกัน ผมเคยนั่งไปฮ่องกง เครื่องใหญ่ 2 ชั้น มองใกล้เหมือนปลาวาฬหรือเรือเดินสมุทร อลังการมาก แต่ด้วยความใหญ่ที่ตอนแรกวางแผนว่าจะทำให้คุ้มค่า ก็อาจไม่คุ้มค่าได้ถ้าวางแผนในเส้นทางที่ผิด เพราะอะไรหรือครับ ถ้าเอาเครื่องใหญ่ๆจุคนเยอะใช้ในเส้นทางที่แออัดจอแจ วันวันหนึ่งบินหลายรอบก็คุ้ม จากที่ต้องบินสองรอบสามรอบ ก็มาบินรอบเดียว ประหยัดน้ำมันไปได้เยอะ ยกภาพให้เห็นง่ายๆ อย่าง ของสายการบินไทย เส้นกรุงเทพฮ่องกงนี่หนาแน่นมาก ขนาดใช้ A380 ยังเต็มแน่นเอียด ทั้งขาไปขากลับ แต่กลับกัน ถ้าเครืองไม่เต็มหรือว่างเยอะนี่ เครื่องใหญ่ขาดทุนมากเลยนะครับ เอาง่ายๆ มีสัก สามร้อยคนแบบไซส์เครื่องธรรมดา A380 ก็ว่างไป 200 ที่นั่ง เกือบครึ่งแล้วครับ จากจะทำกำไรกลายเป็นขาดทุน ถ้าจำไม่ผิด การบินไทยสายยุโรปนี่ ใช้ A380 เหมือนกัน ขาไปนี่ เครื่องเต็มแน่นดี แต่ถ้ากลับจากยุโรปมาไทย ว่างแบบวิ่งเล่น ตีลังกา เล่นซ่อนหากันได้เลย ขาดทุนแน่ๆแบบไม่ต้องมาดูตัวเลข ขณะที่ฝั่งโบอิ้ง เชื่อว่าเครื่องขนาดเดิมๆ จุคนสัก สองสามร้อยเป็นไซส์กำลังดีแล้ว ผู้โดยสารหาให้เต็มเครื่องง่ายกว่า เมื่อใช้เทคโนโลยี่ใหม่ๆเข้าไปให้ประหยัดน้ำมัน กำไรเกิดง่ายกว่า แนวคิดนี้ก็น่าคิด ถ้าไม่เต็มต้องขาดทุน ก็ขาดทุนน้อยกว่า เอาเป็นเอาว่า เวลาคงเป็นเรื่องตัดสินว่า ระหว่างสองค่ายนี้ ฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายคิดถูก แต่ปัญหาที่รอไม่ได้ก็คือ บริษัทสายการบินทั้งหลายที่แหละครับ ว่าจะตัดสินใจซื้อเครื่องบินแบบไหนมาใช้ในสายการบินของตัวเอง เลือกข้างถูกก็โชคดี แต่ถ้าเลือกข้างผิดนี้ อาจถึงขั้นล้มหายตายจากกันไปก็ได้นะครับ โชคดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น